วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

วีดิโอ



บุคลากร




นางศรวณี อ่อนสำอาง
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น


นางจิณัฐตา คำมาลา
ครู

              
                           
                             นายสุรเชษฐ์ เข็มทอง                                  นางสาวธัญรินน์ สิงตะนะ
               ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน            ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน

                  

                      นายกฤษณพงษ์  มูลหงษ์                                 นางนงเยาว์  ฝายทะจักร์
                       ครู กศน.ตำบลปิงหลวง                                     ครู กศน.ตำบลนาทะนุง   




















แผนที่แสดงที่ตั้งศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น



ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

. ชื่อสถานศึกษา       ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น
                            : NAMUEN DISTRICT CENTER OF THE NON- FORMAL AND         
             INFORMALEDUCATION  
. ที่ตั้ง/การติดต่อ เลขที่....-...หมู่ที่ ๔  ตำบลนาทะนุง   อำเภอนาหมื่น   จังหวัดน่าน  รหัสไปรษณีย์  ๕๕๑๘๐ โทรศัพท์   -๕๔๗๘-๗๐๙๑     โทรสาร    -๕๔๗๘-๗๐๙๑    
Website   http://namuen.nan-nfe.net 
. สังกัด         สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน
                   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                   สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
๔. ปรัชญาของสถานศึกษา
                   สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้    มุ่งสู่ความพอเพียง
๕. คำขวัญของสถานศึกษา
                   ยกระดับการศึกษา         พัฒนาคุณภาพชีวิต
                   เสริมเศรษฐกิจชุมชน       มากล้นแหล่งเรียนรู้
                   เชิดชูคุณธรรม              นำประชาสู่ความพอเพียง
. ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
.๑ ประวัติสถานศึกษา
             ตั้งอยู่ถนนถึงฝั่ง ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบันศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ (ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาหมื่น จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๓๖ ) โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในบริเวณอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอ และได้ย้ายมาตั้งสำนักงานชั่วคราว ที่อาคารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาหมื่น ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่ยุบตามโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต ๑) ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ ๔

.๒ อาณาเขต  
      อำเภอนาหมื่น    ตั้งอยู่พิกัด 
PA ๘๗๕๘๑๑๗  หมู่ที่  ๑ บ้านหลักหมื่น  ถนนเจ้าฟ้า  ตำบลนาทะนุง  และอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน  มีเนื้อที่  ๙๖๐  ตารางกิโลเมตร  หรือ  ๕๖๖,๒๕๐  ไร่  คิดเป็นร้อยละ  ๙.๘๙  ของจังหวัดน่าน  อยู่จากจังหวัดประมาณ  ๘๐   กิโลเมตร  และห่างจากกรุงเทพมหานคร  ประมาณ  ๗๕๐  กิโลเมตร  เป็นอำเภอขนาดเล็ก  เมื่อเทียบกับเนื้อที่กับอำเภออื่นๆ  มีอาณาเขตติดต่อทิศต่างๆ  ดังนี้

          ทิศเหนือ          ติดต่อกับตำบลสันทะและตำบลสถาน  อำเภอนาน้อย  จังหวัดน่าน
          ทิศใต้                       ติดต่อกับอำเภอฟากท่าและอำเภอท่าปลา   จังหวัดอุตรดิตถ์
          ทิศตะวันออก              ติดต่อกับอำเภอนาน้อยและอำเภอบ้านโคก  จังหวัดอุตรดิตถ์
          ทิศตะวันตก                ติดต่อกับอำเภอเมืองแพร่และอำเภอร้องกวาง   จังหวัดแพร่

.๓ สภาพชุมชน 
๑)   ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอนาหมื่น   โดยทั่วไปจะมีอยู่  ๓  ลักษณะคือ  พื้นที่  ๑.๒๗%   พื้นที่ราบระหว่างหุบเขา  ๓.๒๙%   พื้นที่ภูเขาและพื้นที่ป่า  ๙๕.๔๔%   ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำการเกษตร  ๒๕,๘๑๘ ไร่ พื้นที่  นา ๕,๙๕๐ ไร่   พื้นที่ไร่  ๑๘,๖๗๙  ไร่   พื้นที่พืชผัก ๑,๑๗๙ ไร่   พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่อยู่อาศัยและอื่นๆอีก   ๕๑๔,๖๒๔  ไร่  จึงทำให้ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นอ่างก้นกระทะ  มีภูเขาล้อมรอบ สามารถจำแนกเขตภูมิประเทศได้  ๓  เขต  ดังนี้
          ๑.  เขตเทือกเขาทางทิศตะวันออก    ในเขตตำบลบ่อแก้ว  ตำบลนาทะนุง  และตำบลปิงหลวง  เป็นแนวเทือกเขาหลวงพระบางที่ต่อเนื่องทอดยาวมาจากอำเภอเวียงสา และอำเภอนาน้อย ขนานไปกับลำน้ำน่านที่ไหลมาจากอำเภอเวียงสาอำเภอนาน้อย  บางส่วนเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่าง   อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน กับอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ มีภูเขาที่สำคัญๆ เช่น ดอยขุนเหียง  ดอยสุโท   ดอยปากนาย  เป็นต้น
           ๒.  เทือกเขาทางทิศตะวันตก เทือกเขาทางทิศตะวันตกส่วนมากเป็นเทือกเขาที่สลับซับซ้อนกันจะมีอยู่ในเขตตำบลปิงหลวง และตำบลเมืองลี       เป็นแนวเทือกเขาที่เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างอำเภอนาหมื่นกับอำเภอนาน้อย  และอำเภอนาหมื่นกับอำเภอเมืองและอำเภอร้องกวาง   จังหวัดแพร่   เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำตะวันออก ทอดยาวในแนวทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญ ของอำเภอนาหมื่นหลายสาย มีภูเขาที่สำคัญๆ ดังนี้
  ดอยขุนปิง    ดอยขุนลี    ดอยขุนทา  เป็นต้น
          ๓.
   เขตที่ราบระหว่างภูเขาและลุ่มน้ำ      เนื่องจากสภาพพื้นที่ของอำเภอนาหมื่น   ส่วนที่เป็นที่ราบมีประมาณร้อยละ  ๔.๐๙    ของเนื้อที่ทั้งหมดของอำเภอ  ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่ทำการเพาะปลูก ที่ราบส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบระหว่างภูเขาสูง ได้แก่เขตที่ราบระหว่างภูเขาในทิศตะวันตกและทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังมีเขตที่ราบลุ่มน้ำที่สำคัญดังนี้  เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำกึ๋น  เขตที่ราบลุ่มน้ำปิง  เขตที่ราบลุ่มน้ำลี    เขตที่ราบลุ่มลำน้ำหิน

๒)   ลักษณะภูมิอากาศ
                   ลักษณะภูมิอากาศ   เป็นแบบป่าฝนเมืองร้อน   คือมี   ๓   ฤดู  ดังนี้ ฤดูร้อน  อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน   ฤดูฝน    อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม  ฤดูหนาว   อยู่ในช่วงเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์   และอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ  ๓๐  องศาเซลเซียส

            
 ๓)  การแบ่งเขตปกครองของอำเภอนาหมื่น
                   แบ่งเขตการปกครองตามลักษณะการปกครองส่วนภูมิภาค โดยได้ใช้พื้นที่ตามสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง  ซึ่งสามารถแบ่งเขตการปกครอง ตามลักษณะดังกล่าวได้  ๔   ตำบล  ๔๘    หมู่บ้าน  และเทศบาลตำบล   ๑  แห่ง  คือ  เทศบาลตำบลบ่อแก้ว  องค์การบริหารส่วนตำบล  ๓  แห่ง  คือ   องค์การบริหารส่วนตำบลนาทะนุง.      องค์การบริหารส่วนตำบลปิงหลวง  และองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองลี  ประชากร  ๑๔,๗๒๙   คน    มีความหนาแน่นต่อพื้นที่เฉลี่ยประมาณ  ๑๕.๕๐  คน ต่อตารางกิโลเมตร   ซึ่งจำแนกเป็นรายตำบลดังนี้
ตารางที่ ๑  ข้อมูลประชากร จำแนกเป็นรายตำบล

ที่
ชื่อตำบล
จำนวนประชากร
จำนวนครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
บ่อแก้ว
๒,๓๖๒
๒,๓๐๐
๔,๖๖๒
๑,๓๗๙
นาทะนุง
๒,๕๑๕
๒,๔๑๙
๔,๙๓๔
๑,๔๕๒
ปิงหลวง
๑,๖๐๑
๑,๔๙๒
๓,๐๙๓
๘๐๔
เมืองลี
๑,๐๔๙
๙๙๑
๒,๐๔๐
๕๑๐
รวม
๗,๕๒๗
๗,๒๐๒
๑๔,๗๒๙
๔,๑๔๕

         ที่มา  สำนักทะเบียน กรมการปกครอง อำเภอนาหมื่น  ปรับปรุงเมื่อ  ๑๖  กันยายน  .๒๕๕๔

       

  
 ๔)  ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                      -  ด้านไฟฟ้า   การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน   ๑   แห่ง   ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้
                      -  ด้านประปา ระบบประปาหมู่บ้านหรือระบบประปาภูเขาทุกหมู่บ้านมีน้ำใช้
                      -  ด้านการสื่อสาร ที่ทำการไปรษณีย์      จำนวน     ๑     แห่ง
                                          โทรศัพท์สาธารณะ     จำนวน     ๑๗   เลขหมาย
                                          โทรศัพท์พื้นฐาน       จำนวน    ๖๐๕  เลขหมาย


 ๕)  การคมนาคมขนส่ง
                   เส้นทางคมนาคมหลักของอำเภอนาหมื่นคือ ทางรถยนต์  เส้นทางรถยนต์ที่สำคัญในอำเภอนาหมื่น  มีดังนี้
                   ๑.   ถนนสายเวียงสา - นาหมื่น ทางหลวงจังหวัดหมายเลข  ๑๐๒๖   มีชื่อเรียกว่า   ถนนเจ้าฟ้า    เส้นทางเริ่มจากอำเภอเวียงสาถึงอำเภอนาหมื่น    ระยะทาง  ๕๕  กิโลเมตร    ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักของอำเภอนาหมื่น
                 ๒.
   ถนนสายนาหมื่น-ปากนาย ทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๓๓๙   มีระยะทางประมาณ  ๒๒  กิโลเมตร เป็นเส้นทางระหว่าง   อำเภอนาหมื่น หมู่บ้านประมงปากนาย   มีชื่อเรียกว่า ถนนถึงฝั่ง 
                   ๓.   ถนนคอนกรีตสลับลูกรัง  สายเมืองลี  –  ร้องกวาง   เชื่อมระหว่างอำเภอนาหมื่นกับบ้านห้วยฮ้อม    อำเภอร้องกวาง   จังหวัดแพร่  ระยะทาง  ๒๕  กิโลเมตร
                   สำหรับการคมนาคมกับอำเภอนาน้อย-เวียงสา   จะมีรถโดยสารประจำทางต้นทางจาก  ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น สุดปลายทางที่ สถานีขนส่งอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน วันละ  ๕  เที่ยว

  ๖) ด้านแหล่งน้ำ
                   ๑. แม่น้ำกึ๋น เป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของอำเภอนาหมื่น  ต้นน้ำเกิดจากขุนปิง ในเขตบ้านห้วยเย็น   ตำบลปิงหลวง  ไหลผ่านตำบลนาทะนุง   แล้วไหลไปบรรจบกับแม่น้ำหินที่บ้านนาบอน
(บ้านนาแหนงเดิม)   ตำบลบ่อแก้ว   เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของอำเภอนาหมื่น

                  
๒.  ลำน้ำห้วยฮ้อ  ต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาทางทิศตะวันตก  เขตตำบลนาทะนุง  ไหลผ่านบ้านเขาแก้ว  บ้านห้วยเลาและบ้านห้วยฮ้อ   แล้วไหลมารวมกับลำน้ำกึ๋นที่บ้านหัวทุ่ง
                  
๓.  แม่น้ำหิน   ต้นน้ำเกิดจากขุนปิง ในเขตบ้านห้วยเย็น ตำบลปิงหลวง ไหลผ่านตำบลบ่อแก้ว แล้วไหลวกกลับไปรวมกับลำน้ำกึ๋นในเขตพื้นที่ตำบลบ่อแก้ว   และไหลไปบรรจบกับลำน้ำแหงที่บ้านน้ำหิน อำเภอนาน้อย

    

 ๗) ด้านการเกษตร
                   ประชากรในเขตอำเภอนาหมื่น   ปลูกพืชหลักที่สำคัญ   คือ  ข้าวโพด  ข้าว   ถั่วเหลือง  มะแข่น (กำจัด) มะขามหวาน  เงาะ  มะม่วงหิมพานต์  ยางพารา



 ๘)  ด้านการท่องเที่ยว
                   อำเภอนาหมื่นเป็นอำเภอที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์   ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและป่าไม้ทำให้มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม   แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันโดยทั่วไปมี  ดังนี้
                               ๑. หมู่บ้านประมงปากนาย    ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ ๑๗  ตำบลนาทะนุง 
                               ๒. น้ำตกตาดหมอก  ตั้งอยู่บริเวณเขตบ้านน้ำอูน หมู่ที่ ๑  ตำบลเมืองลี 
                               ๓. น้ำตกนางกวัก  ตั้งอยู่บริเวณเขตบ้านนาหมอ หมู่ที่ ๓  ตำบลเมืองลี 
                               ๔. วิหารน้อยวัดนาหวาย   ตั้งอยู่บริเวณวัดนาหวาย หมู่ที่ ๘ ตำบลบ่อแก้ว
                       . ศาลหลักเมือง   ตั้งอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอนาหมื่น บ้านหลักหมื่น  
                หมู่ที่ ๑   ตำบลนาทะนุง 
                                ๖.วัดบ่อแก้ว พระธาตุวัดบ่อแก้ว   ตั้งอยู่บ้านบ่อแก้ว หมู่ที่ ๕  ตำบลบ่อแก้ว

              

  ๙)  ด้านทรัพยากรป่าไม้
                    ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง      ต่อความเป็นอยู่ของประชากรอำเภอนาหมื่น เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอนาหมื่นเป็นภูเขาและป่าไม้ ซึ่งเนื้อที่ป่าทั้งหมดของอำเภอนาหมื่น มีจำนวน   ๙๑๐   ตารางกิโลเมตร  สภาพป่าโดยทั่วไปมีความอุดมสมบูรณ์   ประมาณ  ๖๐ของพื้นที่ยังคงสภาพความเป็นป่า  
                    ป่าไม้ที่สำคัญของอำเภอนาหมื่นโดยทั่วไป   สามารถจำแนกได้  ๓  ประเภท   คือ
ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ   มีทั่วไปเกือบทุกตำบลในพื้นที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง ไม้บก เป็นต้น ไม้สักที่ขึ้นในป่าไม้เบญจพรรณของอำเภอนาหมื่นเป็นไม้สักที่มีคุณภาพดี  ส่วนมากจะเป็นไม้สักทองซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ถูกลอบตัดทำลาย ปัจจุบันได้มีการนิยมปลูกไม้สักในเขตพื้นที่ทำกินทั่วไป เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยและปลูกสร้างบ้านเรือน เพราะไม้สักเป็นไม้โตเร็ว  ปลูกง่ายเหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ
  ๒.   ป่าแพะหรือป่าแดงหรือป่าเต็งรัง   ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่งมักขึ้นตามภูเขาเนินเขา ซึ่งมีดินตื้นและแห้งแล้งมาก  ต้นไม้ที่ขึ้นจึงไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ขนาดเล็กแคระแกร็น ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง  ต้นไม้จะมีขนาดใหญ่ ต้นไม้ส่วนใหญ่ในป่าแพะ  จะผลัดใบในช่วงฤดูแล้งและเกิดไฟป่าไหม้ลุกลามทุกปี พันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าชนิดนี้ ได้แก่  ไม้เต็ง ไม้รัง  ไม้เหียง ไม้พลวง  เป็นต้น
ป่าดงดิบเขาหรือป่าดิบเขา  ป่าชนิดนี้อยู่ตามภูเขาสูงเหนือจากระดับน้ำทะเล ลักษณะของป่าชนิดนี้ดูเขียวชอุ่มตลอดปี  เป็นป่าที่มีความสำคัญต่อการรักษาต้นน้ำลำธารมากของอำเภอนาหมื่น พันธุ์ไม้ที่ขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นไม้จำพวกก่อ เช่น  ไม้ก่อเดือย ไม้ก่อแป้น ไม้ก่อตาหมู  เป็นต้น

   ๑๐)  ด้านสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ
                   สภาพอากาศโดยทั่วไปของอำเภอนาหมื่นอยู่ในเกณฑ์ดี  ไม่มีมลพิษทางอากาศ  ฝนตกต้องตามฤดูกาล  ไม่แห้งแล้ง  เนื่องจากป่าที่อุดมสมบูรณ์  น้ำในช่วงหน้าแล้งจะมีปริมาณน้อย ช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศที่หนาวเย็น

     ๑๑)  ด้านการศึกษา
1.       ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น ๑ แห่ง
2.       ห้องสมุดประชาชนอำเภอนาหมื่น ๑  แห่ง
3.       กศน.ตำบล     ๔    แห่ง
                      ๔ .  สถานศึกษาระดับมัธยม  ๒ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนนาหมื่นพิทยาคม
                           / โรงเรียนเมืองลีประชาสามัคคี
                   ๕.  โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๑๖ แห่ง
                     ๖.  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน   ๑๔   แห่ง
                     ๗.  สำนักงานการเกษตร จำนวน ๑ แห่ง
                     ๘.  วัด   จำนวน   ๑๕     แห่ง
                     ๙.  ที่พักสงฆ์   จำนวน   ๕   แห่ง
                    ๑๐.  ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ๑๐๐ %
                   ๑๑. โรงพยาบาลประจำอำเภอ ๑ แห่ง
                   ๑๒. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล   จำนวน  ๔  แห่ง
 สาธารณสุขชุมชน  ๑  แห่ง
                       


      ๑๒)  ด้านสังคมและวัฒนธรรม
                   สภาพสังคมโดยรวมของอำเภอนาหมื่น เป็นสังคมเกษตรชนบท  มีความสงบเรียบร้อย  ใช้ภาษาท้องถิ่น (คำเมือง)  และประเพณีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา  คือ  ประเพณีแปดเป็งไหว้พระธาตุ  สรงน้ำพระเจ้าแก้ว  (แรม  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๖ วันวิสาขบูชา)  บวงสรวงศาลเจ้าพ่อศาลหลักเมือง    ในวันสงกรานต์
ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อเขาแสง  บวงสรวงปีละ  ๒  ครั้ง  เดือน  ๓  เหนือ แรม  ๑๑  ค่ำ  เดือน  ๙  เหนือ  ขึ้น  ๓
  ค่ำ
      ๑๓)  ด้านเศรษฐกิจ
                       ๑. อาชีพหลัก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การปลูกข้าวโพด ข้าวเลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ปลูกพืชผัก  ไม้ผล
                       ๒.  อาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพศิลปหัตกรรม จักสาน  ตัดเย็บเสื้อผ้า  การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
                       ๓. ธนาคาร มี ๒ ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  สหกรณ์การเกษตรนาหมื่นจำกัด
                       ๔. การประมงน้ำจืด บริเวณหมู่บ้านประมงปากนาย หมู่ ๑๗ ตำบลนาทะนุง


.๔ ทำเนียบผู้บริหาร
ลำดับที่
ชื่อ-สกุล
ตำแหน่ง
ระยะเวลาที่
ดำรงตำแหน่ง
นายยุทธชัย      ชมนันท์
หัวหน้าศูนย์ ๒
พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๓๗
นายลือวัฒน์      คำลือ  
ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๓๗-๒๕๔๗
นายวีรเชษฐ์      ภาใจธรรม
รักษาการ  ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๗
นายสงบ          เฉลิมลาภ          
ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. ๒๕๔๗-๒๕๔๘
นางอัมพร        ฟ้าสาร
ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น
พ.ศ. ๒๕๔๘-ปัจจุบัน










วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของศูนย์ กศน.อำเภอนาหมื่น


ประวัติความเป็นมา
              ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอนาหมื่น เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดน่าน สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ (ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอนาหมื่น จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2536 ) โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ในบริเวณอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอ และได้ย้ายมาตั้งสำนักงานชั่วคราว ที่อาคารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาหมื่น ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่ยุบตามโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 1) ที่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 4 ถนนถึงฝั่ง ตำบลนาทะนุง อำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน